การเล่นกระบี่กระบอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 ( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3)

สาระที่ 3 :  การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย  เกม  กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ 3.1: เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา
มาตรฐาน พ 3.2: รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำ
อย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ กฎ กติกา  มีน้ำใจนักกีฬา  มีจิตวิญญาณ
ในการแข่งขัน  และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหว้ง
1.สามารถอธิบายและปฏิบัติทักษะการเล่นกระบี่กระบอง
2.สามารถตระหนักและปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายขณะเล่นกระบี่กระบอง

เนื้อหาสาระ

กระบี่กระบอง จัดเป็นการเล่นแบบกีฬาประเภทหนึ่ง ที่มักจัดให้แสดงเป็นการมหรสพในงานต่างๆ และยังเป็นการเล่นของไทยโดยแท้จริง เพราะไม่เคยปรากฏมีในประเทศใดในโลก เป็นกีฬามหรสพที่นิยมกันมาตังแต่โบราณ เป็นการฝึกหัดใช้อาวุธในยามสงบไปในตัว นับว่าเป็นการแสดงที่ทำให้ตื่นเต้น เร้าใจ มักแสดงในบริเวณที่กว้างๆ เช่น สนามหรือลานใหญ่ๆ ในวัด

เครื่องกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ชนิด คือ เครื่องไม้รำ กับเครื่องไม้ตี ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นอาวุธจำลอง ส่วนมากทำมาจากหวาย มีความเหนียวและเบามือ เครื่องไม้รำนั้นลงรักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม ส่วนเครื่องไม้ตีไม่ได้ตกแต่งอะไร

กระบี่ เครื่องไม้รำทำด้วย หวายหรือเอ็นสัตว์ถักเป็นปลอก สวมแกนโลหะที่ยาวตลอดลงไปถึงด้ามด้วย ตอนปลายเป็นหวายหรือเอ็นถึกคล้ายหางกระเบน มักจะลงรักให้แข็ง บางทีทาสีแดงตลอด ด้ามมีโกร่งกันมือ ส่วนเครื่องไม้ตีนั้นทำอย่างเดียวกันแต่ไม่ตกแต่งอะไร

กระบองหรือพลอง เครื่องไม้ รำทำด้วยหวายหรือไม้จริงลงรักปิดทอง เขียนลายรดน้ำหรือทาสีแดงตลอด ไม่มีโลหะประกอบอยู่ด้วยเลย บางทีก็ประดับกระจกอย่างกระบองของเจ้าเงาะในละครรำ เครื่องไม้ตีทำด้วยไม้รากไทรหรือหวายขนาดใหญ่ ลงรักดำหรือทาสีแดงตลอด ตอนปลายทั้งสองข้างใช้เชือกขนาดเล็กพันไว้
ดาบ เช่นเดียวกับกระบี่ แต่ไม่มีโกร่งกันมือ เครื่องไม้รำทำสวยงามมากดูคล้ายมีฝักอยู่ด้วย ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวายเพื่อให้สามารถตีได้ไม่หัก การใช้ดาบนั้น มีทั้งดาบเดี่ยว ดาบคู่ ดาบกับดั้ง ดาบกับเขน ดาบกับโล่ แล้วแต่จะกำหนด

ง้าว เครื่องไม้รำประดิษฐ์ตกแต่งสวยงามมาก ทำด้วยไม้จริง มีลักษณะใกล้เคียงกับง้าวของจริงมาก ส่วนเครื่องไม้ตีทำด้วยหวาย ไม่มีการตกแต่งอย่างใด

วิธีแสดง การเล่นกระบี่กระบอง มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทแสดง กับประเภทแข่งขัน

ประเภทแสดง – เป็นการเล่นของนักกระบี่กระบองในคณะเดียวกัน จึงเป็นไปอย่างรู้เชิงกันหรือนัดหมายกันไว้อย่างดี ตามภาษากระบี่กระบอง เรียกว่า “รู้ไม้” กันอยู่แล้ว

ประเภทแข่งขัน – ต่างคณะจะลงประอาวุธกัน มีรสชาติขึ้นมาก เพราะสุดแต่ว่า ใครที่มาจากคณะใดจะมีความสามารถมากกว่ากัน การเล่นกระบี่กระบองที่ครบกระบวนการ จะต้องมีวงปี่ชวาและกลองแขก เสียงปี่เสียงกลองทำให้เกิดความคึกคักขึ้นทั้งผู้แสดงและผู้ดู ในวงปี่ชวา ๑ เลา กลองแขก ๒ ลูก ฉิ่ง ๑ คู่

สถานที่แสดง ได้แก่ ลานกว้างๆ พอที่จะให้ผู้แสดงได้ต่อสู้กันได้ไม่คับแคบนัก ก่อนจะลงมือแสดงจะต้องไหว้ครูกันก่อน จากนั้นก็ถึงการต่อสู้ ปี่ชวาจะขึ้นเพลงเร่งเร้าฟังคึกคัก แตกต่างออกไปจากเพลงไหว้ครู โดยคู่ต่อสู้จะต้องรำอาวุธก่อน ซึ่งเป็นการรำที่ผสมกันระหว่างแบบนาฏศิลป์ กับแบบเฉพาะของแต่ละคณะหรือแต่ละสำนัก เป็นการอวดความสวยงามกัน ตอนรำอาวุธนี้ จะใช้ไม้รำซึ่งขัดทำอย่างประณีตงดงามมาก ท่ารำที่ถือว่าเป็นแบบอย่างของกระบี่กระบอง มี “ขึ้นพรหม” เป็นการรำโดยหันไปสี่ทิศ แล้วก็ถึงท่า “คุม” ตามแบบฉบับคือ รำลองเชิงกันโดยต่างฝ่ายต่างรุกล้ำเข้าไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง จากนั้นก็เป็นท่า “เดินแปลง” โดยการสังเกตดูเชิงกันและกัน แล้วจำไว้ว่าใครมีจุดอ่อนที่ใดบ้าง แล้วจึงคุกเข่า “ถวายบังคม” คือ กราบ ๓ ครั้ง จากนั้น จึงเปลี่ยนเครื่องไม้รำมาเป็นเครื่องไม้ตี นักกระบี่กระบองจะต้องสวมมงคลที่ทำด้วยด้ายดิบพันเป็นเกลียว มีขนาดใหญ่เท่าเชือกมนิลา ใช้ผ้าเย็บหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ปล่อยปลายทั้งสองยื่นออก ส่วนเครื่องแต่งกายนั้นขึ้นอยู่กับความนิยม สมัยโบราณแต่งกายอย่างทหาร หรือนุ่งโจงกระเบนแบบหยักรั้ง คาดผ้าประเจียด ตะกรุด หรือนุ่งกางเกงขาสั้น การแสดงก็จะเริ่มจากการจับอาวุธต่อสู้กันเป็นคู่ๆ เช่น กระบี่กับกระบี่ พลองกับพลอง ง้าวกับง้าว พลองกับไม้สั้น จากนั้นก็สุดแต่จะยักเยื้องใช้อาวุธต่างๆ ในที่สุดก็เป็นการตะลุมบอนหรือหลายคู่ หรือการต่อสู้แบบ “สามบาน” คือ คนหนึ่งต่อสู้กับอีก ๒ คน เพลงที่ใช้นั้น เพื่อความเหมาะสมกับการร่ายรำอาวุธแต่ละอย่าง ก็มักจัดเพลงขึ้นตามความเหมาะสม เช่น กระบี่ ใช้เพลงกระบี่ลีลา ดาบสองมือ ใช้เพลงจำปาเทศหรือขอมทรงเครื่อง ง้าวใช้เพลงขึ้นม้า พลองใช้เพลงลงสรงหรือขึ้นพลับพลา การต่อสู้สามบาน ใช้เพลงกราวนอกหรือเพลงฝรั่งรำเท้า

ประเด็นคำถาม
1. การสร้างเสริมสุขภาพทางกายด้วยการเล่นกระบี่กระบองมีผลดีอย่างไร
2. นักเรียนคิดว่าการเล่น
กระบี่กระบองให้ประโยชน์ต่อร่างกายคนเราอย่างไร
3. นักเรียนบอกได้ไหมว่าการ
เล่นกระบี่กระบองมีอาวุธชนิดใดบ้าง

กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรืออินเตอร์เน็ต
2. จัดนิทรรศการ หรือจัดบอร์ดเกี่ยวกับท่าการเล่นกระบี่กระบอง

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
1. ภาษาไทย     การอ่านจับใจความ  การสรุปบทความในข่าว
2. วิทยาศาสตร์  การเคลื่อนที่ของร่างกายตามแนวระนาบหรือแกน
3. คณิตศาสตร์   การคำนวณทิศทางและจำนวนก้าวกับเวลาในการเคลื่อนที่
4. สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)  อาหารและโภชนาการสนองต่อการออกกำลังกายและการเล่น

กำหนดการสอน สุขศึกษา ม. 2

คำนำ

กำหนดการสอนฉบับนี้ข้าพเจ้าได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 32101 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน 1.0 หน่วยการเรียน รวม 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน    และ 80 ชั่วโมง/ปี ใช้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  จำนวน 4  ห้องเรียน    ซึ่งเอกสารนี้ประกอบไปด้วยคำอธิบายรายวิชา        ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง     การวิเคราะห์จำนวนคาบ/ชั่วโมงสัปดาห์ที่ใช้สอน   ตลอดจนการวัดผลและประเมินผลกลางภาคและปลายภาค       เรื่องการประเมินการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และการเขียน        การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เฉพาะรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ที่ครูผู้สอนได้กำหนดขึ้น    ซึ่งจะไปเชื่อมกับความสัมพันธ์กับลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาที่ทางกลุ่มสาระได้กำหนดขึ้น และสุดท้ายมีเกณฑ์การวัดผลประเมินผล โดยได้กำหนดอัตราส่วนคะแนนด้วย

กำหนดการสอนเล่มนี้   ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการเขียนแผนการสอน หากมีข้อเสนอแนะที่จะให้ปรับปรุงแก้ไข ข้าพเจ้าในนามผู้จัดทำยินดีน้อมรับเพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป

( นายนิธิโรจน์  ตรีรัตน์วิชชา )

ผู้จัดทำ เพิ่มเติม

โครงสร้างหลักสูตรสุขศึกษาฯ ร.ร.กระแชงวิทยา

View this document on Scribd
View this document on Scribd

ความในใจจากผู้จัดทำ

บล็อกนี้เป็นบล็อกที่ทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อความรู้ต่างๆๆ ทั้งหมดที่มีในโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีสาระ และเรื่องที่ไร้สาระต่างๆๆ ทั้งหมด


  • สาระก็มีนะครับ

  • ไร้สาระก็มัน

  • ร่วมกันเป็นความรู้

  1. ความรู้หาได้ทุกที่

  2. อย่ายึดติดกับสิ่งเดิม

  3. แสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ

แต่อย่าทำให้ใครเดือดร้อยและอย่าทำให้ตัวเองไร้ค่า