กำหนดการสอน สุขศึกษา ม. 2

คำนำ

กำหนดการสอนฉบับนี้ข้าพเจ้าได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา รหัสวิชา พ 32101 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน 1.0 หน่วยการเรียน รวม 40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน    และ 80 ชั่วโมง/ปี ใช้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  จำนวน 4  ห้องเรียน    ซึ่งเอกสารนี้ประกอบไปด้วยคำอธิบายรายวิชา        ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง     การวิเคราะห์จำนวนคาบ/ชั่วโมงสัปดาห์ที่ใช้สอน   ตลอดจนการวัดผลและประเมินผลกลางภาคและปลายภาค       เรื่องการประเมินการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และการเขียน        การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เฉพาะรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ที่ครูผู้สอนได้กำหนดขึ้น    ซึ่งจะไปเชื่อมกับความสัมพันธ์กับลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาที่ทางกลุ่มสาระได้กำหนดขึ้น และสุดท้ายมีเกณฑ์การวัดผลประเมินผล โดยได้กำหนดอัตราส่วนคะแนนด้วย

กำหนดการสอนเล่มนี้   ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการเขียนแผนการสอน หากมีข้อเสนอแนะที่จะให้ปรับปรุงแก้ไข ข้าพเจ้าในนามผู้จัดทำยินดีน้อมรับเพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป

( นายนิธิโรจน์  ตรีรัตน์วิชชา )

ผู้จัดทำ

คำอธิบายรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 3

รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน 80 ชั่วโมง

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ศึกษาเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามวัย ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ การรู้จักและเข้าใจตนเอง

ชีวิตและครอบครัวศึกษา  อาหารและโภชนาการกับการดำรงชีวิต มีความรู้และเกิดทักษะการเคลื่อนไหว    เห็นคุณค่าของการออกกำลังกายการเล่นกีฬาประเภทบุคคลและประเภททีม   กิจกรรมนันทนาการ  เกม  กีฬาไทย   และกีฬาสากล โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์การกีฬา กฎ กติกา กลวิธีรับและรุก ตัดสินใจในขั้นตอนที่ได้รับมอบหมายอย่างสร้างสรรค์ สนุกสนานและปลอดภัยมีน้ำใจเป็นนักกีฬา เห็นคุณค่าในหลักและวิธีการการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ  นันทนาการ  การใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับสุขภาพ  วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพความปลอดภัยในชีวิต ตระหนักและเห็นคุณค่าในการตัดสินใจและปฏิบัติตนในการแก้ปัญหา         การป้องกันและหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด อุบัติเหตุและอาการผิดปกติทางร่างกาย และทางจิตใจ เพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา  รหัสวิชา  พ  32101

ที่ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คะแนน
K P A รวม
1 บอกปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยรุ่นและวัยเรียน 2 2 1 5
2 วิเคราะห์การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยต่างๆได้ 2 1 1 4
3 อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจอารมณ์และพัฒนาการทางเพศของตนเอง 1 1 1 3
4 ระบุถึงคุณค่าและความเสมอภาคทางเพศได้ 1 1 1 3
5 ระบุองค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธ์ได้ 2 1 1 4
6 ระบุทักษะการตัดสินใจเพื่อหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้ 2 2 1 5
7 บอกวิธีปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีสุขภาพดีได้ 1 1 1 3
8 ระบุถึงโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่สำคัญของประเทศได้ 2 2 1 5
9 บอกวิธีการดูแลสุขภาพของตนเองได้ 1 1 1 3
10 อธิบายคุณค่าและความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ 2 1 1 4
11 บอกวิธีการจัดการอารมณ์และความเครียดได้ 2 1 1 4
12 วิเคราะห์ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยได้ 2 1 1 4
13 บอกถึงคุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนได้ 1 1 1 3
คะแนนกลางปี/กลางภาค 20
คะแนนปลายปี/ปลายภาค 30
รวมทั้งหมด 100

วิเคราะห์ / ชั่วโมง /และสัปดาห์ที่สอน

หน่วยที่ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จำนวนคาบ/ชั่วโมง สัปดาห์ที่
1 1 – 3 16 ตลอดภาคเรียน
2 4 – 6 16
3 7 – 9 16
4 10 – 11 20
5 12 – 13 12

วิเคราะห์กำหนดคะแนนผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

หน่วยที่ ผลการเรียนรู้คาดหวัง ก่อนวัดผลกลางภาค กลางภาค หลังวัดผลกลางภาค วัดผลปลายภาค คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน รวม
1 1 – 3 8 6 14
2 4 – 6 8 6 14
3 7 – 9 9 8 17
4 10 – 11 10 15 15
5 12 – 13 15 15 15
รวม 25 20 25 30 100

การวัดผลกลางภาค/ปลายภาค

หน่วยที่ ผลการเรียนรู้คาดหวัง วิธีการ เครื่องมือ
1 1 – 3 ทดสอบ แบบทดสอบ
2 4 – 6 ทดสอบ แบบทดสอบ
3 7 – 9 ทดสอบ/ปฏิบัติ แบบทดสอบ
4 10 – 11 ทดสอบ/ปฏิบัติ แบบทดสอบ
5 12 – 13 ทดสอบ แบบทดสอบ
ปรนัย 60 ข้อ ปรนัย 60 ข้อ

การประเมินอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน

ข้อที่ ตัวบ่งชี้ วิธีการวัด
1 ผู้เรียนสามารถอ่านได้ถูกต้อง แบบบันทึก
2 ผู้เรียนสามารถเขียนและฟังครูบอกได้ถูกต้อง แบบบันทึก
3 ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามที่ครูบอกได้ แบบบันทึก
4 ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เนื้อหาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาที่กำหนดได้ แบบบันทึก

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ข้อที่ ตัวบ่งชี้ วิธีการวัด
1 ผู้เรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งและสื่อต่างๆ แบบบันทึก
2 ผู้เรียนมีวินัยมีความรับผิดชอบปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนและสังคม แบบบันทึก
3 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์ แบบบันทึก
4 ผู้เรียนเสียสละและปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แบบบันทึก
5 ผู้เรียนรู้จักป้องกันตนให้พ้นจากอุบัติเหตุและสิ่งเสพติด แบบบันทึก

เกณฑ์การวัดผลประเมินผล

อัตราส่วนคะแนน  70 : 30

รายการประเมิน คะแนน
  1. 1. การวัดผลระหว่างภาคเรียน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เก็บคะแนนก่อนวัดผลกลางภาค

คือ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เก็บคะแนนวัดผลกลางภาค

คือ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9

1.3  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่เก็บคะแนนหลังวัดผลกลางภาค

คือ 10 , 11 , 12 , 13

2. คะแนนวัดผลปลายภาค  คือ 10 , 11 , 12 , 13

25

20

25

30

รวม 100

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   2                                เวลา  4  ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น อาจมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละคน ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจและการปรับตัวให้รู้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงนั้น อีกทั้งยังรวมถึงการเตรียม พร้อมในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะให้วัยนี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขต่อไป

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     บอกปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กวัยเรียน และวัยรุ่น

2.     อธิบายลักษณะการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียน และวัยรุ่น

3.     อธิบายพัฒนาการของเด็กวัยเรียน และวัยรุ่น

3   สาระการเรียนรู้

1.     ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กวัยเรียน

2.     ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

3.     การเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กวัยเรียน

4.     การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

4   กิจกรรมการเรียนรู้

–       ครูนำภาพเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กวัยเรียน และเด็กวัยรุ่นมาติดที่หน้าชั้นเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยต่างๆ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2                              เวลา  2  ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

โดยปกติแล้วการเจริญเติบโตและพัฒนาการมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัยอย่างเป็นลำดับขั้นตอน จึงจะถือได้ว่ามีการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตามและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของตนเองให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างถูกต้องและเหมาะสม

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     วิเคราะห์การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยต่างๆ ได้

2.     บอกวิธีดูแลภาวะการเจริญเติบโตของตนเองได้

3.     ระบุถึงการปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของตนเองได้

3   สาระการเรียนรู้

1.     การเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กวัยทารก

2.     การเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กวัยก่อนเรียน

3.     การเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็กวัยเรียน

4.     การเจริญเติบโต และพัฒนาการของวัยรุ่น

5.     การวิเคราะห์การเจริญเติบโต และพัฒนาการ

6.     การติดตามดูแลการเจริญเติบโตของตนเอง

4     กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยใช้กระบวนการเรียนความรู้  ความเข้าใจ)

หน่วยการเรียนรู้ที่  2   ชีวิตและครอบครัว

แผนการจัดการเรียนรู้ที่   1

เรื่อง  การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางเพศ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2                 เวลา  3  ชั่วโมง

1.    สาระสำคัญ

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  ทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา  จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่  ผู้ปกครองและครูอย่างใกล้ชิด  เพื่อคอยช่วยแนะนำในเรื่องการปรับตัวและให้คำปรึกษาเรื่องราวต่าง ๆ  แก่วัยรุ่น  เพื่อจะมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและมีความสุข

2.    จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และพัฒนาการทางเพศของตนเอง

2. บอกถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และพัฒนาการทางเพศของตนเองได้

3.     สาระการเรียนรู้

1.  การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของวัยรุ่น

2.  พัฒนาการทางเพศ

3.  ความต้องการของวัยรุ่น

4.  การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

4.     กิจกรรมการเรียนรู้  (วิธีสอนโดยใช้กระบวนการเรียนความรู้  ความเข้าใจ)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2   ชีวิตและครอบครัว

แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2

เรื่อง ความเสมอภาคทางเพศ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                เวลา  2  ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญในเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างเพศหญิงและชายมากขึ้นกว่าในอดีต  ถือได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสทางสังคมให้กับผู้หญิงในด้านต่าง ๆ  เพิ่มขึ้นอีกทั้งยังก่อให้เกิดผลดีทั้งทางด้านจิตใจและด้านสังคมต่อเพศหญิงตามมาอีกด้วย

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     ระบุถึงคุณค่าของความเสมอภาคทางเพศได้

2.     อธิบายถึงการวางตัวต่อเพศเดียวกัน  และเพศตรงข้ามได้อย่างเหมาะสม

3   สาระการเรียนรู้

1.     คุณค่าของความเสมอภาคทางเพศ

2.     การวางตัวต่อเพศเดียวกัน

3.     การปรับตัวต่อเพศตรงข้าม

4.     การวางตัวต่อเพศตรงข้าม

4       กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยใช้กระบวนการสร้างความตระหนัก)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2   ชีวิตและครอบครัว

แผนการจัดการเรียนรู้ที่   3

เรื่อง อนามัยเจริญพันธุ์ที่มีผลต่อสุขภาพ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                เวลา  3  ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

อนามัยเจริญพันธุ์มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของคนเรา  เพราะอนามัยเจริญพันธุ์เป็นสภาวะที่สมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจที่เห็นผลสัมฤทธิ์  อันเกิดจากกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ทั้งเพศชายและหญิงทุกช่วงอายุของชีวิต  ซึ่งทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข  ดังนั้น  การมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์และปฏิบัติตามอย่างถูกต้องย่อมส่งผลดีต่อภาวะของร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     ระบุองค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์

2.     วิเคราะห์องค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์ที่มีผลต่อสุขภาพ

3   สาระการเรียนรู้

1.     องค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์

2.     ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์กับสุขภาพ

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม)

หน่วยการเรียนรู้ที่  2  ชีวิตและครอบครัว

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  4

เรื่อง การมีเพศสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2                                เวลา  3  ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาเป็นเรื่องปกติของมนุษย์  แต่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยและเวลาอันควร  จะก่อให้เกิดปัญหามากมาย  เช่น  การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์  โรคเอดส์  การทำแท้ง  ดังนั้น  การรู้จักหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์  รวมทั้งการมีทักษะในการตัดสินใจ  หลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้ได้นั้น  นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     ระบุทักษะการตัดสินใจ  เพื่อหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้

2.     บอกวิธีการป้องกันตนเองจากสถานการณ์เพลี่ยงพล้ำหรือเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์

3.     บอกถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้

3   สาระการเรียนรู้

1.     การหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

2.     พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

3.     ปัญหาและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

4.     การหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง พฤติกรรมสุขภาพกับสิ่งแวดล้อม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2                                เวลา 2 ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

การดำเนินการเพื่อให้บุคคลมีสุขนิสัยหรือพฤติกรรมสุขภาพที่ดีนั้น  เป็นกระบวนการที่จะต้องทำอย่างมีระบบ  ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมโรคต่าง ๆ  ตลอดจนการปลูกฝังและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลเพื่อให้ปราศจากการเป็นโรคและมีสุขภาพที่ดี  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     บอกวิธีปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีสุขภาพที่ดีได้

2.     วิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมสุขภาพ  การป้องกันโรคกับการมีสุขภาพดี

3.     วิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

3   สาระการเรียนรู้

1.     ความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมสุขภาพ  การป้องกันโรคกับการมีสุขภาพที่ดี

2.     ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยกระบวนการคิดสร้างความตระหนัก)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                เวลา 3 ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

ปัจจุบันมีโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขอยู่หลายโรค  ซึ่งแบ่งออกเป็นโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ  จึงมีความสำคัญยิ่งที่เราจะต้องศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับโรคและการเจ็บป่วย  เพื่อที่จะสามารถดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคไปสู่บุคคลอื่น  ในกรณีที่เป็นโรคติดต่อได้อีกทางหนึ่งด้วย  และมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมก็จะเป็นเกราะป้องกันโรคไม่ติดต่ออีกด้วย

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     ระบุถึงโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่สำคัญของประเทศได้

2.     อธิบายถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่สำคัญของประเทศได้

3.     บอกวิธีปฏิบัติตนให้เป็นผู้ปราศจากโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อได้

3   สาระการเรียนรู้

1.     โรคติดต่อ

2.     โรคไม่ติดต่อ

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยกระบวนการสร้างความตระหนัก)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง การปฐมพยาบาลและการใช้สถานบริการสุขภาพ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2                                เวลา 2 ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

การให้การปฐมพยาบาลแก่ตนเองและผู้บาดเจ็บนั้น  จำเป็นต้องรู้หลักการและแนวทางในการปฐมพยาบาลจนสามารถใช้ทักษะเหล่านั้นไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้เพื่อจะสามารถช่วยชีวิต  ลดความเจ็บปวด และป้องกันความพิการไว้ได้  อันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเอง  ผู้อื่น  และสังคมส่วนรวมอีกด้วย

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     บอกวิธีการดูแลสุขภาพของตนเองได้

2.     สามารถปฐมพยาบาลตนเองและผู้อื่นได้

3.     เลือกตัดสินใจใช้บริการสถานบริการสุขภาพอย่างเหมาะสม

3   สาระการเรียนรู้

1.     การดูแลสุขภาพตนเอง

2.     การปฐมพยาบาล

3.     การตัดสินใจไปใช้บริการในสถานบริการสุขภาพ

4.    การใช้บริการสุขภาพ

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยกระบวนการปฏิบัติ)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง อาหารการกิน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2                                เวลา 3 ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

อาหารมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต  และมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในแง่ของการได้มาซึ่งพลังงาน  โดยอาหารแต่ละชนิดก็จะมีคุณค่าทางโภชนาการ  และสารอาหารที่แตกต่างกัน  จึงขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกรับประทานอย่างไรให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมกับความต้องการและวัยของตน

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     ระบุอาหารสำหรับบุคคลวัยต่าง ๆ ได้

2.     ระบุอาหารเฉพาะโรคได้

3.     วิเคราะห์ข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารได้

3   สาระการเรียนรู้

1.     อาหารตามวัย

2.     การวิเคราะห์ข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

เรื่อง สุขภาพของฉัน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2                                เวลา 2 ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

การดูแลและสร้างเสริมสุขภาพตนเองในเบื้องต้นมีความสำคัญต่อตัวเรามาก  เพราะหากปฏิบัติได้ถูกต้องจะสามารถช่วยสร้างและมีสุขภาพแข็งแรงได้ตลอดไป  แต่ในทางตรงกันข้ามหากขาดการดูแล       เอาใจใส่สุขภาพของตนเองแล้ว  ก็จะเกิดความผิดปกติหรือเจ็บป่วยขึ้นได้  นับว่าการให้คุณค่าและความสำคัญต่อสุขภาพกายและจิตจึงมีความสำคัญยิ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม  หรือละเลย

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     อธิบายคุณค่าและความสำคัญของสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้

2.     ปฏิบัติตนเพื่อสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะสม

3   สาระการเรียนรู้

1.     คุณค่าและความสำคัญของสุขภาพกาย

2.     คุณค่าและความสำคัญของสุขภาพจิต

3.     การปฏิบัติตนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพกาย

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยกระบวนการสร้างค่านิยม)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6

เรื่อง อารมณ์  ความเครียด  และการฝึกจิต

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                เวลา 3 ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

ในชีวิตประจำวันของนักเรียนจะต้องพบกับเหตุการณ์ต่าง ๆ  ที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์  อาจทำให้เราเกิดความสุขหรือความเครียดได้  อีกทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตต่างก็ส่งผลกระทบต่อกัน  ดังนั้น  การที่เรารู้จักวิธีควบคุม  และวิธีจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสมจะทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุขได้

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     บอกวิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียดได้

2.     อธิบายถึงคุณค่าของการฝึกจิต  และสามารถฝึกปฏิบัติได้

3.    บอกคุณค่าของการจัดการกับอารมณ์และความเครียดได้

3   สาระการเรียนรู้

1.     อารมณ์และความเครียด

2.     การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

3.     การฝึกจิต

4.    คุณค่าของการจัดการกับอารมณ์  ความเครียด  และการฝึกจิต

4   กิจกรรมการเรียนรู้(วิธีสอนโดยกระบวนการสร้างความตระหนัก / กระบวนการปฏิบัติ)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความปลอดภัยในชีวิต

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2                                เวลา 3 ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

ในสังคมทุกวันนี้เราต้องเผชิญกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพหลายอย่าง  โดยอาจมีตั้งแต่พฤติกรรมเสี่ยงเพียงเล็กน้อย  ไปจนถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพที่จะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้  ดังนั้น  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี  เพื่อที่จะได้เกิดความปลอดภัย  และเกิดประโยชน์สุขในการดำรงชีวิตต่อไป

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     วิเคราะห์ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยได้

2.     บอกถึงคุณค่าของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีได้

3.     บอกถึงปัญหาและผลกระทบจากพฤติกรรมสุขภาพ

4.     บอกแนวทางการปฏิบัติตนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยไม่ใช้ความรุนแรง

3   สาระการเรียนรู้

1.     ปัจจัยและพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย

2.     คุณค่าของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

3.     ปัญหาและผลกระทบจากพฤติกรรมสุขภาพ

4.     ความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทในกลุ่มเพื่อน

5.     แนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

6.     การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยกระบวนการสร้างความตระหนัก)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความปลอดภัยในชีวิต

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

เรื่อง การสร้างเสริมความปลอดภัยและสื่อที่นำไปสู่ความไม่ปลอดภัย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   2                                เวลา 3 ชั่วโมง

1   สาระสำคัญ

การสร้างเสริมความปลอดภัยทั้งแก่ตนเองและชุมชน  ต้องทำอย่างเป็นกระบวนการ  และมีจิตสำนึกที่ดีในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ  โดยเฉพาะสื่อ  หรือข่าวสารด้านต่าง ๆ  ที่อาจนำมาซึ่งความ        ไม่ปลอดภัยในสังคม  จึงเป็นสิ่งที่ตัวเราควรจะศึกษาและเข้าใจถึงแนวในการปฏิบัติที่เหมาะสม  จะได้สามารถนำพาชุมชนและสังคมไปสู่ความเป็นวิถีชีวิตที่คงความปลอดภัยตลอดไป

2   จุดประสงค์การเรียนรู้

1.     บอกถึงคุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนได้

2.     ระบุกลวิธีในการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ

3.     วิเคราะห์การเลือกรับสื่อได้ถูกต้องเหมาะสม

4.     บอกแหล่งขอความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยได้

3   สาระการเรียนรู้

1.     คุณค่าของกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชน

2.     กลวิธีในการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ

3.     สื่อที่อาจนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยในชีวิต

4.     การป้องกันตนเองจากภัยที่เกิดจากสื่อต่าง ๆ

4   กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ)

ตารางโครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้

วิชาสุขศึกษา  ม.2   เวลาเรียน 40 ชั่วโมง

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ มฐ. การเรียนรู้

รายชั้นปี

วิธีสอน/กระบวนการจัดการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง)
1. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น2. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัย

ต่าง ๆ

พ 1.1พ 1.1 1.กระบวนการกลุ่ม2. การนำเสนอโดยวีดิทัศน์ และการประเมินตนเอง 44
2. ชีวิตและครอบครัว 1.  การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางเพศ2. ความเสมอภาคทางเพศ

3. อนามัยเจริญพันธุ์ที่มีผลต่อสุขภาพ

4. การมีเพศสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

พ 2.1พ 2.1

พ 2.1

พ 2.1

1.  กระบวนการเรียนความรู้ ความเข้าใจ2.   กระบวนการสร้างความตระหนัก

3.   กระบวนการสร้างค่านิยม

4.   กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

22

3

3

3. การสร้างเสริมสุขภาพ  และการป้องกันโรค 1.  พฤติกรรมสุขภาพกับสิ่งแวดล้อม2. โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

3. การปฐมพยาบาลและการใช้บริการสถานบริการสุขภาพ

พ 4.1พ 4.1

พ 4.1

1.  กระบวนการสร้างความตระหนัก2.   กระบวนการสร้างปฏิบัติ

3.   กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

23

2

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ มฐ. การเรียนรู้

รายชั้นปี

วิธีสอน/กระบวนการจัดการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง)
4. อาหารการกิน5. สุขภาพของฉัน

6. อารมณ์  ความเครียด  และการฝึกจิต

พ 4.1พ 4.1

พ 4.1

4.     กระบวนการสร้างค่านิยม 32

3

4. ความปลอดภัยในชีวิต 1. พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ2. การสร้างเสริมความปลอดภัยและสื่ออื่นที่นำไปสู่ความไม่ปลอดภัย พ 5.1พ 5.1 1.   กระบวนการสร้างความตระหนัก2.     กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 33

ใส่ความเห็น